เราจะก้าวข้ามกรอบของภาพลักษณ์และไขว่คว้าความเป็นตัวของเราเอง

Ishida Taiseisha (Thailand) Co., Ltd.

カテゴリ
เราจะก้าวข้ามกรอบของภาพลักษณ์และไขว่คว้าความเป็นตัวของเราเอง

เปลี่ยนอุปสรรคมากมายให้เป็นบ่อเกิดแห่งพลังของตนเอง

“เรื่องนี้จะกลายเป็นอย่างไรกันนะ” เหตุการณ์น้ำท่วมโจมตีประเทศไทยในปี 2011 ตอนที่ได้ยินข่าวว่าโรงพิมพ์ของบริษัทได้รับผลจากน้ำท่วม เป็นตอนที่คุณอัตสึมิดำรงตำแหน่งประธานบริษัท Ishida Taiseisha (Thailand) เป็นวันที่ 3 เครื่องพิมพ์ที่อยู่ที่ชั้น1ของโรงงานถูกน้ำท่วมหมด รวมไปถึงข้อมูลการพิมพ์สำคัญที่มีการรวบรวมไว้ที่ชั้น1ก็ถูกน้ำท่วมหมด แต่คุณอัตสึมิกลับใจเย็นกับเหตุการณ์ตรงหน้าที่ไม่เคยประสบมาก่อนได้อย่างน่าประหลาดใจ

“เพราะว่าเพิ่งได้เข้ามาเป็นประธานบริษัท ก็มีบ้างเหมือนกันที่ไม่รู้ว่าจะทำอะไรอย่างไรดี แน่นอนว่าเป็นเรื่องที่ลำบาก แต่ในทางกลับกันก็คิดว่านี่เป็นภารกิจที่ได้รับจากสวรรค์ล่ะมั้ง (หัวเราะ) ผมถือว่ามันเป็นพลังบวกอย่างน่าประหลาดน่ะครับ” คุณอัตสึมิกล่าว

ก่อนอื่นต้องเข้าใจความเสียหายโดยรวมทั้งหมด ติดต่อและอธิบายสถานการณ์กับลูกค้าที่มีกำหนดส่งสินค้าในเร็วๆนี้ จากนั้นรีบกู้คืนข้อมูลที่เหลือ ไม่ว่าจะอย่างไรก็เปลี่ยนกำหนดส่งไม่ได้ จึงต้องอาศัยบริษัทการพิมพ์ที่อื่นเพื่อที่จะไม่สร้างความเดือดร้อนให้ลูกค้า และคอยเป็นผู้นำสร้างขวัญกำลังใจกับเหล่าพนักงานว่า “ไม่เป็นไร ไม่ต้องเป็นห่วง เราจะผ่านไปด้วยกัน” คุณอัตสึมิที่ได้ผ่านอุปสรรคนั้นมาแล้วพูดปนหัวเราะว่า จากประสบการณ์ครั้งนี้ “ไม่ว่าจะเกิดอะไร ก็จะคิดได้แล้วว่าไม่ได้เป็นเรื่องใหญ่ครับ” ตอนนี้คำพูดที่ว่า “พยายามให้ดีที่สุดนะ ผมเชื่อว่าทำได้” จากลูกค้าท่านหนึ่งหนึ่งก็ยังให้กำลังใจเราอยู่เสมอๆ

จุดกำเนิดของบริษัทคือ เป็นบริษัทการพิมพ์ที่ตั้งขึ้นในเกียวโต และเป็นบริษัทการพิมพ์เก่าแก่ที่ครบรอบการก่อตั้งมา100 ปีในปี 2016  เราให้ความสำคัญในการผลิตเนื้อหาที่มีกระบวนการผลิตขั้นสูง พร้อมๆกับดำเนินธุรกิจการพิมพ์ บริษัทมีจุดแข็งในเรื่องระบบการทำงานที่สามารถตอบสนองตั้งแต่การวางแผน การผลิต ไปจนถึงจัดส่งงานพิมพ์แบบครบวงจร ในปัจจุบันส่วนของแผนงานนี้ก็จะครอบคลุมกิจกรรมการสื่อสารโดยทั่วไปของบริษัทในรูปแบบของสิ่งที่ทำจริงไปจนถึงเว็บไซต์ด้วย

การที่คุณอัตสึมิเข้ามาทำงานที่บริษัทนี้ก็คือ “การทำงานในต่างประเทศ” เป็นปัจจัยหลัก เขาใช้ชีวิตที่ประเทศเยอรมันเป็นเวลา 3 ปีตอนอยู่ชั้นมัธยมต้น หลังจากกลับมาญี่ปุ่นก็เรียนภาษาเยอรมันที่มหาวิทยาลัย คุณอัตสึมิกล่าวว่าเขาจำเป็นต้องทำงานในต่างประเทศ หลังจากเข้ามาที่บริษัท 4 ปี ก็ไปประจำที่ยุโรป (ประเทศเบลเยียม) และดำเนินการบริหารในฐานะผู้จัดการ เมื่อทำงานในยุโรปมาจนถึง 10 ปีแล้ว ก็มีความคิดที่ “จะออกไปโลกภายนอกมากกว่านี้” ในเวลานั้นเขายินดีที่จะย้ายไปทำงานในประเทศไทยที่มีการแข่งขันที่ยากลำบากที่สุดในบรรดาบริษัทที่มีฐานในต่างประเทศ เขาอยากเก็บเกี่ยวประสบการณ์ใหม่ๆ จึงมาที่ประเทศไทยซึ่งมีความท้าทายมากที่สุด

 

การลงมือทำที่ไม่เป็นไปตามกฎเกณฑ์จะช่วยขับเคลื่อนองค์กร

จุดเริ่มต้นของบริษัทที่ได้ก้าวสู่เส้นทางในไทยนั้นก็คือ การช่วยเหลือในท้องถิ่นนั้นให้กับผู้ผลิตรถยนต์รายหนึ่ง บริษัทได้ดำเนินการผลิต รวมถึงจัดพิมพ์คู่มือทางด้านเทคนิคและเครื่องมือที่ใช้ในร้านค้าฉบับภาษาไทยในประเทศไทยมาตลอด คุณอัตสึมิคิดว่าจำเป็นต้องดูแลธุรกิจหลักที่มีมาแต่เดิมพร้อมๆกับธุรกิจอื่นด้วยเช่นกัน นั่นคือการที่ต้องทำให้การผลิตเนื้อหาซึ่งบริษัทยึดเป็นจุดแข็งของญี่ปุ่นมีการเติบโตในท้องถิ่นนั้นๆ กล่าวคือการที่บริษัทจะบรรลุ “ความเป็นอิชิดะไทเซอิฉะ” ในไทยนั่นเอง และจากการที่คุณอัตสึมิมีประสบการณ์ในต่างประเทศอย่างเต็มเปี่ยม จึงคิดว่ากุญแจความสำเร็จธุรกิจในไทยคือ “การเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารที่สอดคล้องกับท้องถิ่นนั้น” นอกจากการแปลที่มีความถูกต้องแม่นยำสูงแล้ว บริษัทยังได้ทำการศึกษาในเรื่องลักษณะเฉพาะของเจตนาที่เห็นได้ในคนแต่ละเชื้อชาติ เบื้องหลังทางวัฒนธรรม รวมถึงการเผยแพร่ข้อมูลที่สอดคล้องกับกฎหมายและธรรมเนียมปฏิบัติอย่างจริงจังอีกด้วย ทางด้านภายในบริษัทก็ทุ่มเทเรื่อง “การอบรมเลี้ยงดูพนักงานที่สามารถไว้ใจได้” คุณอัตสึมิกล่าวว่าหัวข้อการอบรมเลี้ยงดูบุคลากรของบริษัทคือ “ความเป็นอิสระ” เขาพูดสวนกับความคิดฝังหัวแบบเดิมๆไปว่า “การจัดการที่ยังมองหาความเป็นอิสระในไทยมันไม่เหมาะไม่ใช่หรือ?”         เมื่อสร้างคุณค่าในการทำงานขึ้นมา อัตราการออกจากงานก็ลดลงอย่างเห็นได้ชัด

ณ ตอนนี้ โดยเฉพาะในด้านธุรกิจการผลิตนั้นไม่มีวันที่เราจะไม่เห็นบทบาททางด้านต่างๆในไทยของบริษัทนี้เลย นอกจากมอเตอร์โชว์แต่ละประเภทที่เปิดแสดงในไทยแล้ว คุณภาพบูธที่บริษัทได้จัดในงานแสดงสินค้าของบริษัทการผลิตที่ชื่อว่า METALEX ก็เป็นที่ดึงดูดสายตาได้อย่างโดดเด่น รวมถึงการที่นิตยสาร U-MACHINE ได้พัฒนา AR Application สำหรับสมาร์ทโฟนที่เปิดให้ใช้ตั้งแต่ปี 2016 ก็เป็นผลงานจากบริษัทนี้เช่นกัน อีกทั้งการปรับเปลี่ยนข้อมูลให้เข้ากับท้องถิ่นที่มาจาก Cross-Media ที่คุณอัตสึมินำเสนอ ก็อยู่ในรูปแบบที่ดำเนินไปอย่างมั่นคง ภารกิจที่ว่า “ทำให้ Ishida Taiseisha ของญี่ปุ่นเป็นเวอร์ชั่นย่อส่วนในไทย” ที่บริษัทสาขาใหญ่ได้กำหนดให้เป็นหน้าที่คุณอัตสึมิ ก็คงจะพัฒนาเป็น “การทำสิ่งที่ทำไม่ได้ในญี่ปุ่นที่ไทย” ในสักวันหนึ่งแน่นอน

 

dummy

Ishida Taiseisha (Thailand) Co., Ltd.

Ishida Taiseisha (Thailand) Co., Ltd.